วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

จิตแพทย์แนะคนไทยบริหารอีคิว

จิตแพทย์แนะคนไทยบริหารอีคิว

Pic_21503

สภาพ การณ์ของคนไทยกำลังเผชิญกับภาวะบีบคั้นรอบด้าน ทั้งจากวิกฤตเศรษฐกิจ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น อีกทั้งยังเจอกับการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 อีก ทำให้ประชาชนเกิดความเครียด วิตกกังวลสูง และมีอารมณ์แปรปรวน ในรายที่มีอาการสะสมรุนแรงก็จะพัฒนาไปสู่อาการทางจิตหรือฆ่าตัวตายได้


จาก ผลสำรวจล่าสุดของกระทรวงสาธารณสุขปี 2551 พบว่าคนไทยมีปัญหาสุขภาพจิตสูงถึงร้อยละ 20 หรือประมาณ 6-12 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่ทำงานนอกบ้านและต้องมีภาระรับผิดชอบดูแลบ้านและครอบ ครัว ซึ่ง นพ.กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล จิตแพทย์ทั่วไปโรงพยาบาลมนารมย์ ระบุ ว่า คนไทยยังมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องของสุขภาพจิตน้อย จึงไม่สามารถบริหารจัดการความเครียดได้ อีกทั้งสังคมยังมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนา IQ (Intelligence Quotient) ความฉลาดทางสติปัญญา จนมองข้ามในเรื่องของ EQ (Emotional Quotient) หรือ ความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งจุดนี้เองทำให้คนไทยเกิดความเครียด วิตกกังวล และมีปัญหาด้านสุขภาพจิตเพิ่มมากขึ้นทุกปี


นพ.กัมปนาท ตันสิถบุตรกุล


นพ.กัมปนาท กล่าว ว่า อีคิวมีความสำคัญมากในการทำงาน และดำเนินชีวิตประจำวัน เพราะคนที่มีอีคิวดีจะสามารถยับยั้งชั่งใจในการแสดงออกทางอารมณ์และตอบสนอง ความต้องการของตนเอง อีกทั้งยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับตัวเอง เพื่อนำไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ได้ และยังตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้อย่างเด็ดขาด ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตท่ามกลางวิกฤตต่างๆ ในปัจจุบัน ขณะเดียวกันก็อาจมีความยืดหยุ่นควบคู่กันไป ปรับให้เหมาะสมกับกาลเทศะ นอกจากนั้นยังช่วยในเรื่องของการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นที่สามารถปรับตัว เข้ากับผู้อื่นได้ ซึ่งหากไม่สามารถทำได้ก็จะกลายเป็นคนที่มีปัญหาทางบุคลิกภาพ อันนำไปสู่การเป็นผู้มีปัญหาสุขภาพจิตในที่สุด


คนที่มีความฉลาด ทางอารมณ์หรืออีคิวดีนั้น จะช่วยให้มีทักษะในการจัดการทางความคิดและดำเนินชีวิตประจำวันท่ามกลางวิกฤต ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดภาวะความเครียดสะสม อันจะส่งผลกระทบต่อการทำงาน การดำเนินชีวิตประจำวัน และคนรอบข้าง นพ.กัมปนาท ตันสิ
ถบุตรกุล จึงให้แนวทางในการปฏิบัติเพื่อฝึกทักษะความฉลาดทางอารมณ์ ดังนี้

  1. ต้อง รับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกตนเอง มากกว่าการที่จะต้องคอยกล่าวโทษคนอื่นๆ หรือสถานการณ์ บางครั้งการทำงานที่หมกมุ่นอยู่กับความเครียด ความสำเร็จในชีวิตมากเกินไป ทำให้ละเลยการใส่ใจอารมณ์ของตนเอง
  2. สามารถ แยกแยะระหว่างความคิดและความรู้สึกของตนเองได้ ความรู้สึกเกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และไม่จำเป็นต้องตอบสนองกับความรู้สึกนั้นๆ ทุกครั้ง แต่ความคิด (อย่างมีเหตุผล) สามารถช่วยควบคุมการตอบสนองต่ออารมณ์ความรู้สึกได้
  3. รู้จักใช้ความรู้สึกบ้างในบางครั้งเพื่อช่วยในการตัดสินใจ แต่ถ้าจะให้ดีก็ควรจะควบคู่กับการใช้สติด้วย
  4. นับถือในความรู้สึกของผู้อื่น รวมถึงคนที่เก่งน้อยกว่าว่าบางครั้งวิชาการด้อยแต่อาจจะมีประสบการณ์ที่ดีกว่าก็ได้
  5. เมื่อ ถูกกระตุ้นให้โกรธสามารถควบคุมจิตใจไม่ให้โกรธหรือการแสดงอารมณ์ที่มากเกิน ไป จะเป็นผลดีต่อสุขภาพจิตของตนเองและผู้อื่นด้วย การรู้จักฝึกฝนบ่อยๆ จะช่วยให้สามารถควบคุมได้ดีขึ้นเรื่อยๆ
  6. รู้จักฝึกหาคุณค่าใน ทางบวกจากอารมณ์ในทางลบ เช่น เวลาที่รู้สึกไม่สบายใจ เครียด ท้อแท้ อาจจะลองตั้งสติทบทวนหาสาเหตุ เมื่อทำได้บ่อยๆ จะเป็นคนที่มีเหตุผลมากขึ้น และมีประสบการณ์ที่เข้มแข็งมากขึ้นในการต่อสู้เอาชนะกับความไม่สบายใจใน ครั้งต่อๆ ไป อย่าพยายามทำตัวเป็นคนที่ชอบแนะนำ สั่งสอน อบรม วิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา แม้ว่า คุณเป็นคนที่มีความรู้สูง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะรู้ไปเสียหมดทุกเรื่องเสมอไป ประสบการณ์ที่หลากหลายหรือหลากมุมมองจากคนต่างสาขาวิชาชีพ จะช่วยให้คุณเป็นคนที่ยืดหยุ่นมากขึ้น เป็นต้น
ขอบคุณแหล่งที่มา/www.thairath.co.th/

Dinner Party Games
Doll Dress Up Games
Fashion Games To Play Online
Free Downloadable Toddler Games
Free Psp Games Download
Fun Game
Games Com
History Of Computer Games
Jill The Plumber Game
Online Dress Up Games For Girls

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น